สายดื่มทั้งหลายระวังให้ดี ดื่มเหล้า ดื่มเบียร์ ประจำเสี่ยงติดเชื้อ พยาธิ เส้นด้ายมากถึง 20.5%โดย ศูนย์วิจัยโรคปรสิต จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้อ้างอิงผลวิจัย การดื่มเหล้าเบียร์หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมากว่า จะทำให้เกิดการติดเชื้อพยาธิเส้นด้าย โดยมีโอกาสสูงมากกว่าคนไม่ดื่มถึง 5 เท่า
การที่ร่างกายที่ได้รับแอลกอฮอล์บ่อยๆ จะไปกระตุ้น แกนไฮโปทาลามัส – ต่อมใต้สมอง – ต่อมหมวกไต (HPA) ให้มีการผลิตฮอร์โมน cortisol ที่มากเกินไป
ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะไปทำให้การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันลดลงและเลียนแบบฮอร์โมนการลอกคราบของพยาธิทำให้พยาธิสามารถพัฒนาเป็นระยะตัวอ่อนจากระยะหนึ่ง สำหรับพยาธิเส้นด้าย S. stercoralis เป็นพยาธิที่พบตามเขตร้อนชื้น มีการติดเชื้อทั่วโลกมากว่า 370 ล้านคน ผู้ป่วยจะติดต่อโดยการกินอาหารที่ปนเปื้อนตัวอ่อนพยาธิที่มีในผัก ผลไม้ อาหาร น้ำดื่มที่ไม่สะอาด และยังสามารถไชผ่านผิวหนังเราได้ด้วย อาการที่พบอาทิ ตุ่ม ลมพิษบริเวณที่ตัวอ่อนพยาธิไชเข้าผิวหนัง ปวดท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย และท้องร่วง แต่อาการมักพบในรายที่ติดเชื้อจำนวนมาก
จากที่มีการรายงานของข้อมูลที่ว่า ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้ ตราฮาลาล ผิดกฎหมายนั้น จากการตรวจสอบพบว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
(4 ก.ค. 2565) ตามที่มีข้อมูลในสื่อโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย “ตราฮาลาล” ผิดกฎหมาย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากที่มีการแชร์ข้อความโดยระบุว่า ศาลรัฐธรรมนูญตีตราฮาลาลเป็นตราเถื่อน ผิดกฎหมาย ทางสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีคำวินิจฉัย ในเรื่องการตีตราฮาลาลเป็นตราเถื่อน ผิดกฎหมาย ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีการพิจารณาถึงเรื่องนี้ ซึ่งข้อความดังกล่าวก่อให้เกิดความเข้าใจผิด และก่อให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีกับองค์กร
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.constitutionalcourt.or.th หรือโทร. 1201
สยอง นักศึกษา ร่างขาดสองท่อน หลัง ขับบิ๊กไบค์ชนเสาไฟ
เกิดอุบัติเหตุสยองขึ้น เมื่อหนุ่ม ขับบิ๊กไบค์ชนเสาไฟ ร่างขาดสองท่อน เสียชีวิตคาที่ พยานเล่าขับเร็วแล้วเสียหลัก หลังออกตัวแรง
พ.ต.ท.ภูมเรศ อินทร์คง สารวัตรสอบสวน สภ.ธัญบุรี ได้รับรายงานว่าเกิดเหตุรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ชนเสาไฟ บริเวณ หน้าหมู่บ้านณัฐวรรณ ตรงข้ามธนาคารออมสิน คลอง 10 ถนนรังสิต-นครนายก มุ่งหน้ารังสิต หมู่ 4 ต.บึงสนั่น อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี เมื่อช่วงเวลาประมาณ 8.00 น. ที่ผ่านมา
เจ้าหน้าที่จึงรีบเดินทางไปยังจุดเกิดเหตุทันที และในจุดเกิดเหตุพบ รถจักรยานยนต์คาวาซากิ รุ่นนินจา 400 ซีซี สีเขียว สภาพพังยับเยิน ห่างออกไปพบร่างของ นายวุฒิชัย เพ็งสองสี อายุ 20 ปี สภาพศพขาดเป็นสองท่อน
จากการสอบถาม นายชลนที เครือโชติ กู้ชีพเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ ทำให้ทราบว่า นายชลนที ได้รับแจ้งว่าเกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ขนาด 4 สูบ ชนเสาไฟบนเกาะกางถนน และทำให้ร่างขาดเป็น 2 ท่อน คาดว่าผู้ตายกำลังจะเดินทางไปเรียน
ขณะที่พยานในที่เกิดเหตุเล่าว่า ตอนแรกรถจอดติดไฟแดงอยู่ พอไฟเขียวผู้ขับขี่ได้เร่งเครื่องออกมาอย่างรวดเร็ว ก่อนที่รถจะเสียหลักไปชนกับเกาะกลางถนนกระเด็นไปฟาดกับเสาไฟ จนทำให้ร่างขาดสองท่อนเสียชีวิตทันที
ด้าน พ.ต.ท.ภูมเรศ อินทร์คง สารวัตรสอบสวน สภ.ธัญบุรี ได้ทึกสถานที่เกิดเหตุไว้เป็นหลักฐาน พร้อมจะตรวจดูกล้องวงจรปิดว่ารถจยย.เกิดอุบัติเหตุเองจริงหรือไม่ ส่วนศพผู้ตายได้ส่งชันสูตรที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ก่อนจะแจ้งให้ญาติมารับต่อไป
BTS ประชาสัมพันธ์ขอผู้โดยสาร อย่าพิงเสา ปรากฎว่าชาวเน็ตไม่ได้สนใจข้อความเลย สนใจแต่ความแน่นของภาพคนยืนพิงเสา รถไฟฟ้า BTS ได้โพสต์ภาพประชาสัมพันธ์ ขอความร่วมมือผู้โดยสารที่ใช้บริการบนรถไฟฟ้า ไม่ยืนพิงเสา เพื่อที่จะเอื้อเฟื้อให้ผู้โดยสารคนอื่นได้จับเสาเพื่อใช้ทรงตัว ขณะที่กำลังเดินทางเพื่อความปลอดภัย
อย่างไรก็ตามประเด็นที่ชาวเน็ตสนใจกลับเป็น “ความแน่น” ของผู้ที่ยืนพิงเสา ที่ทำเอาชาวเน็ตถามว่า “ต้องแน่นขนาดนี้ไหม?” รวมถึงหน้าตาที่คล้ายกับเงาปริศนาจากการ์ตูนนักสืบจิ๋วโคนัน ที่ชาวเน็ตแซวว่าวันนี้น้องไปก่อนคดีไรมา
ไวรัสชนิดนี้ยังไม่มีข้อมูลใดๆเรื่องความรุนแรง หรือ คุณสมบัติที่โดดเด่นจนต้องจับตามอง เพราะพบมา 3 เดือนแล้วก็ไม่ได้มีอะไรที่โดดเด่นขึ้นมา เนื่องจากเดลตาลดน้อยลงมาก การเกิดไวรัสแบบนี้คงพบได้ยากขึ้น ที่จะพบกันตอนนี้จะเป็น BA.1กับ BA.2 มากกว่า ที่พบร่วมกันอยู่อย่างมากมายในประชากรมนุษย์
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง